วันนี้ ManeyMoney พามาเช็คลิสต์ 5 นิสัยที่จะทำให้การเก็บเงินของเราสะดุดได้
.
ถ้าไม่รีบปรับหรือแก้ไข ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องการเงินแบบเรื้อรังได้นะ
.
เช็คแล้วเป็นยังไงกันบ้าง จะมีครบหมดทุกข้อมั้ยน้า ไปดูกันเล้ยยยย
.
1. ใช้จ่ายเกินตัว


เป็นหนึ่งนิสัยที่จะทำให้การเงินพัง ก่อนอื่นเลยถ้าอยากได้อะไรซักอย่างหรือหลายๆ อย่าง ลองคำนวณมูลค่าสิ่งเหล่านั้นดูก่อนแล้วหันกลับมามองที่รายรับของเรา ว่าสัมพันธ์กันมั้ย การจัดการเงินที่ดีในเรื่องของความอยากได้ แนะนำว่าให้ต่อเดือนกำหนดงบไว้เลยว่าจะใช้เงินไปกับความอยากได้เท่าไร และห้ามใช้เกินนั้น หากของชิ้นไหนที่ต้องผ่อน ก็ให้เอามูลค่าเงินผ่อนนั้นใส่เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับความอยากได้รายเดือน (จนกว่าจะผ่อนครบ) แล้วดูว่ามูลค่าผ่อนนั้นเต็มโควต้าความอยากได้ที่กำหนดไว้ต่อเดือนหรือยัง ถ้ายังก็สามารถอยากได้อย่างอื่นได้ แต่ถ้ามันเต็มโควต้างบประมาณที่ตั้งไว้แล้ว ก็ไม่ควรจ่ายกับความอยากได้อะไรอีก

ลองจัดสรรงบประมาณในการให้รางวัลหรือกินอาหารมื้อพิเศษดูในแต่ละเดือนกันนะ

เพราะ ManeyMoney ไม่ได้บอกว่าเราต้องอดมื้อกินมื้อ หรือประหยัดจนตัวเองไม่มีความสุข

แต่ให้ใช้อย่างมีสติและซื่อสัตย์กับตัวเอง
.
2. รักสบาย ไม่มีวินัย ไม่วางแผนการเงิน


ใครยังติดนิสัยนี้อยู่ ไม่ต้องดูดวงก็พูดได้เลยว่าพังฉ่ำ เพราะการที่เรารักสบายในบางเรื่องก็อาจจะใช้เงินจ่ายออกไปโดยที่ไม่จำเป็น เช่น งานบ้านบางอย่างที่เราสามารถทำเองได้ โดยไม่ต้องจ้าง หรือการใช้จาน ถ้วยกระดาษ แบบใช้แล้วทิ้ง ในการทานข้าวทุกๆวัน ก็อาจจะเสียเงินในทุกๆเดือนได้

รวมไปถึงการขาดวินัยและไม่วางแผนทางการเงิน แน่นอนว่าการจะเหลือเงินเพียงพอสำหรับการออมหรือลงทุนเพิ่มก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากเช่นกันนะ
.
3. ขาดทักษะและความรู้เรื่องการเงินและการลงทุน


คนส่วนมากไม่ยอมเรียนรู้และชอบความรวดเร็วและสบายมากกว่า ManeyMoney จะบอกว่า

การที่เรามีความรู้และทักษะในเรื่องการเงินเป็นอะไรที่ดีและจำเป็นต่อการใช้ชีวิตของเรามากๆ

เพราะ ความไม่รู้อาจทำให้เราไม่สามารถเก็บเงินได้ หรือถึงแม้จะมีเข้ามามากก็ใช้จ่ายไม่เป็น

ซึ่งการพัฒนาความรู้และทักษะเหล่านี้ จะช่วยให้เราเข้าใจและใช้เงินได้แบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น
.
4. ติดกับดัก “เดี๋ยวหาใหม่”


“เดี๋ยวก็หาใหม่ได้” หรือ “ไม่เป็นไร เดี๋ยวเงินเดือนก็ออก” เรามักจะพูดกันบ่อยๆ แต่รู้มั้ยหากเรายังติดนิสัยนี้และทำไปเรื่อยๆจนชิน นอกจากจะทำให้มีเงินไม่พอใช้ถึงสิ้นเดือนแล้ว เงินเก็บในบัญชีก็จะเริ่มร่อยหลอลงไปเรื่อยๆอีกด้วยนะ
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราห้ามใช้เงินฟุ่มเฟือย ต้องอดมื้อกินมื้อ และไม่กินของดีๆ หรือใช้ของแพงๆ เลย แต่ให้ลองชั่งน้ำหนักดูให้ดีว่า ในแต่ละเดือนนั้น เราทำแบบนี้ไปกี่ครั้ง และแต่ละครั้งเราซื้อของเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ คิดให้ดีว่าสิ่งของหรืออาหารที่ซื้อมาเหล่านั้นเราได้ประโยชน์หรือใช้งานอย่างคุ้มค่าจริงไหม ซึ่งถ้าคิดดูแล้วว่า การใช้เงินลักษณะนี้เป็นสาเหตุไม่มีเงินเก็บ การปรับเปลี่ยนการใช้เงินเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะช่วยให้บริหารจัดการเงินดีขึ้นได้
ตัวอย่างเช่น
.
หากเดือนนี้อยากซื้อกระเป๋าแบรนด์โปรดสักใบ เราคงต้องเลื่อนการกินโอมากาเสะหรือบุฟเฟ่ต์แพง ๆ ไปเดือนหน้าเป็นต้น
.
หรือ หากเดือนนี้มีของออกใหม่ที่อยากได้จริง ๆ ก็ให้เก็บเงินในจำนวนเท่ากับที่ใช้ซื้อของไป ซึ่งการทำวิธีนี้ก็จะช่วยให้มีเงินเก็บไปด้วย อีกทั้งยังได้ของที่อยากได้มาใช้อีกด้วย แยกได้ว่าใช้เท่าไหร่ให้เก็บเท่านั้น ได้ทั้ง Pay และ Save
.
5. ใจดีเป็นเหตุสังเกตได้


ความใจดีมากไปบางทีมันก็สร้างปัญหาให้กับตัวเราได้เหมือนกันนะ อย่างการใจดีกับคนอื่นมากเกินไปจนรบกวนการเงินของเรา ยิ่งใจดีผิดเรื่อง ผิดคน ผิดที่ผิดทาง เช่น บางคนมีนิสัยติดเลี้ยง ติดให้ยืม ติดบอกว่าได้เสมอ ไม่เป็นไร ถ้าเราติดนิสัยเหล่านี้บ่อยๆบอกได้เลยว่าอันตรายนะ เก็บเงินไม่อยู่แน่นอน
.